logo
เขื่อนเจ้าพระยา
แม่น้ำเจ้าพระยา
แม่น้ำลพบุรี
คลองบางแก้ว
หน้าแรก หนังสือเวียนupdate  webboard
Graphic Midterm About Me
ยินดีต้อนรับ

 

กรมชลประทาน


105ปีกรมชลประทาน


โครงการส่งนํ้าและบำรุงรักษามหาราช

สภาพทั่วไป

โครงการส่งนํ้าและบำ รุงรักษามหาราช เป็นโครงการย่อยโครงการหนึ่งของโครงการเจ้าพระยาใหญ่
ตามภาพที่ 1 อยู่ในลุ่มนํ้าเจ้าพระยาเป็นโครงการชลประทานประเภทส่งนํ้าและระบายนํ้า (Irrigation and Drainage Project) โดยเริ่มก่อสร้างโครงการฯ ตั้งแต่ ปี 2495 มีนายแสวง พูนสุข อดีตอธิบดีกรมชลประทาน ขณะก่อสร้างนั้นท่านดำรงตำแหน่งนายช่างตรวจการเป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้างโครงการเป็นท่านแรกโดยเริ่มจากงานระบบก่อน มีการสำรวจหาแนวใน การขุดคลองส่งนํ้าและคลองระบายนํ้าสายต่าง ๆ หลังจากนั้นจึงเริ่มงานอาคาร เช่น
อาคารปาก คลองส่งนํ้าสายต่าง ๆ และอาคารย่อยอื่น ๆ ฯลฯ โดยมีคลองส่งนํ้าสายใหญ่ (คลองชัยนาท-อยุธยา)
รับนํ้าต้นทุนจากเขื่อนเจ้าพระยาโดยตรงโดยอาศัยหลักการยกระดับนํ้าจากเขื่อนเจ้าพระยาส่งนํ้าเข้า
ประตูปากคลองส่งนํ้าสายใหญ่ซึ่งอยู่เหนือเขื่อนเจ้าพระยาประมาณ 800 เมตร โดยมีแนวคลองเริ่ม
ต้นจากเหนือเขื่อนเจ้าพระยาฝั่งซ้าย ส่งนํ้าขนานไปกับแม่นํ้าเจ้าพระยา ผ่านจังหวัดชัยนาท จังหวัด
สิงห์บุรี จังหวัดอ่างทอง จนไปสิ้นสุดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาตรงภูเขาทอง รวมความยาวทั้งสิ้น
120.394 กิโลเมตร มีพื้นที่ชลประทานประมาณ 476,300 ไร่ นอกจากนั้นยังประกอบด้วยคลอง
ซอยและคลองแยกซอยซึ่งแยกมาจากคลองส่งนํ้าสายใหญ่ จำ นวน 23 สาย เพื่อนำ นํ้าส่งไปยังพื้นที่
เพาะปลูก นอกจากนี้ยังประกอบด้วยคลองระบายนํ้าสายต่าง ๆ จำ นวน 25 สาย และอาคาร
ประกอบต่าง ๆ จนสิ้นเสร็จงานก่อสร้างและเริ่มเปิดโครงการส่งนํ้าและบำ รุงรักษามหาราช เป็นครั้ง
แรกเมื่อปี พ.ศ.2503 โดยมีหัวงานโครงการฯตั้งอยู่ที่ 107 ต.ม่วงหมู่ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี ต่อมาที่ทำ
การโครงการฯขยายอาคารว่างลง จึงได้ขอย้ายที่ทำ การหัวงานโครงการฯ จากเดิมมาอยู่ที่ 198 ต.
ม่วงหมู่ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี เมื่อปลายปี พ.ศ.2526 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
ลักษณะพื้นที่ของโครงการส่งนํ้าและบำ รุงรักษามหาราช ตอนบนเป็นพื้นที่ราบ ลาด
เทลงสู่ตอนล่าง และพื้นที่ตอนกลางเป็นที่ลุ่มตํ่าสลับที่ดอน และลาดเทลงที่ตอนล่างสุดของพื้นที่
ถึงแม้ว่าพื้นที่ในเขตโครงการส่งนํ้าและบำ รุงรักษามหาราชเหล่านี้ ได้ถูกจัดให้เป็นพื้นที่อยู่ในเขต
พื้นที่ส่งนํ้าชลประทานแบบส่งด้วยแรงโน้มถ่วง (gravity) บริเวณทุ่งราบนํ้าท่วมเกือบทั้งหมดของ
โครงการฯมหาราช อาศัยนํ้าท่วมและการควบคุมนํ้าในคลองระบาย พื้นที่นํ้าท่วมขังไม่ได้เกิดจาก
การที่นํ้าไหลล้นฝั่งออกมา นํ้าที่ท่วมขังอยู่เป็นการควบคุมให้เกิดขึ้น โดยประกอบกันขึ้นด้วย คัน
ดินที่สร้างขึ้นล้อมรอบพื้นที่และประตูนํ้า ในคลองระบาย เกิดขึ้นเป็นพื้นที่นํ้าท่วมขังหนึ่ง ๆ และสิ่งสำ คัญที่สุดคือการควบคุมประตูระบายนํ้าที่ระบายนํ้าออกไปสู่แม่นํ้าสายหลัก พื้นที่ชลประทาน
ในเขตโครงการฯมหาราช หลายแห่งเป็นที่ลุ่มตํ่า ระบายนํ้าไม่ดีหรือนํ้าท่วมขัง ในพื้นที่เพาะปลูก
ยังมีการเพาะปลูกข้าวพันพื้นเมือง (traditional rice varieties, TV) รวมทั้งข้าวพันธุ์ทนนํ้าลึก (deep
water rice, DWR ) เหมาะสำ หรับหรับระดับนํ้าลึกระหว่าง 50-100 เซนติเมตร และข้าวขึ้นนํ้าหรือ
ข้างฟางลอย (floating rice, FR ) สามารถปรับตัวได้ในระดับนํ้าลึกระหว่าง 100-350 เซนติเมตร

ขอบเขตของโครงการ

- ทิศเหนือเริ่มจากเขื่อนเจ้าพระยาและเขตติดต่อโครงการฯมโนรมย์
- ทิศตะวันออกติดต่อคลองระบายใหญ่ ชัยนาท – ป่าสัก 2 และเขตติดต่อโครงการฯ
มโนรมย์ คลองระบายใหญ่ ชัยนาท – ป่าสัก 3 เขตติดต่อโครงการฯช่องแค คลองระบายใหญ่
มหาราช 1 และแม่นํ้าลพบุรีเขตติดต่อโครงการฯโคกกะเทียม
-ทิศตะวันตกจดแม่นํ้าเจ้าพระยาตั้งแต่จังหวัดชัยนาทจนถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ทิศใต้จดคูเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ที่ตั้งและอาณาเขต

หัวงานโครงการฯตั้งอยู่ริมถนนสายสิงห์บุรี – ลพบุรี เลขที่ 198 ต.ม่วงหมู่ อ.เมือง
จ.สิงห์บุรี โดยมีขอบเขตพื้นที่โครงการฯ มีเนื้อที่ยาวรีตามแม่นํ้าเจ้าพระยา มีเนื้อที่โครงการฯ
523,930 ไร่ เป็นเนื้อที่ชลประทาน 476,300 ไร่ ครอบคุมพื้นที่ 5 จังหวัด 16 อำ เภอ 85 ตำ บล ดัง
ภาพที่ 2-3 ดังนี้
- จังหวัดชัยนาท ในบางส่วนของ อำ เภอสรรพยา
- จังหวัดสิงห์บุรี ในบางส่วนของ อำ เภออินทร์บุรี, อำ เภอเมือง, อำ เภอพรหมบุรี
- จังหวัดลพบุรี ในบางส่วนของ อำ เภอท่าวุ้ง, อำ เภอเมือง
- จังหวัดอ่างทอง ในบางส่วนของ อำ เภอไชโย, อำ เภอเมือง, อำ เภอป่าโมก
- จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในบางส่วนของ อำ เภอบางปะหัน, อำ เภอมหาราช,
อำ เภอบ้านแพรก, อำ เภอบางบาล, อำ เภอพระนครศรีอยุธยา


สภาพภูมิประเทศ

โครงการส่งนํ้าและบำ รุงรักษามหาราชอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางอันอุดมสมบูรณ์
ในเขตจังหวัด ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สภาพภูมิประเทศมีลักษณะเป็นที่
ราบทางตอนบนและที่ราบลุ่มทางตอนล่าง ความลาดชันของพื้นที่โครงการส่งนํ้าและบำ รุงรักษา
มหาราช ตอนบนเหนือจังหวัดพระนครศรีอยุธยาขึ้นไปจะมีความลาดเทประมาณ 1:7,000 จาก
ระดับประมาณ + 4.00 เมตร (รทก) ถึงระดับ + 16.00 (รทก)

ลักษณะภูมิอากาศ

โครงการส่งนํ้าและบำ รุงรักษามหาราชตั้งอยู่อยู่ในภาคกลางของประเทศ มีสภาพภูมิ
อากาศอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือน
ตุลาคมนี้มีจุดกำ เนิดจากมหาสมุทรอินเดียมีความชุ่มชื้น (ไอนํ้าสูง) เมื่อพัดผ่านแผ่นดินทำ ให้มีเมฆ
มากและมีฝนตกทั่วไป ส่วนในระยะระหว่างเดือนพฤศจิกายนจนถึงประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์
จะไดรับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึงมีจุดกำ เนิดในประเทศจีน เป็นลมแห้งและ
หนาวเย็น ตามภาพที่ 5 แสดงลมมรสุมที่พัดผ่านประเทศไทย จากอิทธิพลลมมรสุมดังกล่าว จึงมีฤดู
กาล 3 ฤดู คือระหว่างเดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนตุลาคม ฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายนจน
ถึงประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ และฤดูร้อนระหว่างกลางเดือนกุมภาพันธ์จนถึงกลางเดือน
พฤษภาคม
- สภาพฝน ปริมาณนํ้าฝนในเขตโครงการส่งนํ้าและบำ รุงรักษามหาราชจากสถานี
วัดนํ้าฝนจำ นวน 12 สถานี ดังตารางที่ 1 และภาพที่ 6 คำ นวณโดยวิธี (Theissen Method) จะอยู่ใน
เกณฑ์เฉลี่ยประมาณปีละ1,100 – 1,300 มม. ตามภาพที่ 7 และ 8 โดยจะมีฝนตกชุกในเดือน
กันยายน และจะมีปริมาณนํ้าฝนในระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคมประมาณ 85-90 % ของปริมาณ
ฝนทั้งปี
- อุณหภูมิ ในช่วงฤดูร้อนจะร้อนจัด โดยมีพิสัยอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน
ระหว่าง40.8 – 42.7 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูหนาวอากาศจะหนาวเย็นมีพิสัยตํ่าสุดระหว่าง 8.2 –
10.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีอยู่ในพิสัยระหว่าง 27.9 ถึง 28.3 องศาเซลเซียส
- ความชื้นสัมพัทธ์ มีพิสัยค่าเฉลี่ยทั้งปีระหว่าง 70-74 เปอร์เซ็นต์ โดยค่าสูงสุด
ระหว่าง92-96 เปอร์เซ็นต์ และตํ่าสุดระหว่าง 30-66 เปอร์เซ็นต์
 

 



กรมชลประทาน


สชป.10

กรมอุตุนิยมวิทยา

ศูนย์อุทกภาคกลาง

คลังข้อมูลน้ำ





การรับฟังความคิดเห็น

ฐานข้อมูล


สายด่วน


กรมบัญชีกลาง


pic
ออกแบบ & พัฒนาโดย แขลดา เกลียวกลม รหัสนักศึกษา 49313494132
Email : wongkasikorn_k@hotmail.com